Blockchain คืออะไรและสำคัญอย่างไร
วันนี้เรามาคุยกันแบบมันส์ๆ ในหัวข้อ “Blockchain คืออะไรและสำคัญอย่างไร” อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีนะครับ เพราะถ้าฟังๆ ดูอาจเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นเทคโนโลยีขั้นเทพเกินไป แต่จริงๆ แล้ว บทความนี้จะเล่าให้เข้าใจง่ายๆ สไตล์เพื่อนคุยกันนี่แหละ
1. Blockchain คืออะไร?
ลองนึกภาพสมุดบันทึกปกน้ำเงินเล่มใหญ่ ที่เราเอาไว้จดทุกธุรกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่แทนที่จะวางสมุดเล่มนี้ไว้มุมห้อง เรากลับกระจายหน้ากระดาษ (หรือบล็อก) ไปตามคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง แล้วบล็อกแต่ละบล็อกก็โยงต่อกันเป็นโซ่ หรือ “เชน” ทำให้เกิด “บล็อกเชน” นั่นเอง
- Block: แต่ละบล็อกก็เหมือนหนึ่งหน้าสมุด รวบรวมข้อมูลธุรกรรม หรือข้อมูลอะไรก็แล้วแต่
- Chain: บล็อกแต่ละบล็อกเชื่อมต่อกับบล็อกก่อนหน้า เกิดเป็นโซ่ยาวๆ ที่ยากจะตัดแปลงแก้ได้โดยง่าย
พอบันทึกข้อมูลลงบล็อกเชนแล้ว การจะแก้ไขทีหลังไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าแก้แล้วคนอื่นเขาจะจับได้ในทันที แบบโดนจับโป๊ะแตกไปเลย อย่าลืมว่ามีอีกคอมพิวเตอร์อีกหลายเครื่องก็มีข้อมูลเดิมของสมุกหน้านี้เช๋นกัน เราเลยเรียกว่า “ข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลง” หรือ immutable นั่นเอง
2. ระบบกระจายศูนย์ (Decentralization) บนเครือข่าย P2P
เว็บไซต์หรือแอปทั่วไป มักจะมีเซิร์ฟเวอร์กลางคอยเก็บข้อมูล เราเรียกว่าระบบ รวมศูนย์ Centralized servers ถ้าเซิร์ฟเวอร์ล่มขึ้นมา เวลานั้นเราก็จะใช้งานไม่ได้ แต่บล็อกเชน (Blockchain) ไม่ได้มีเพียงเซิร์ฟเวอร์เดียว เพราะเขาใช้เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เชื่อมกันแบบ P2P (Peer-to-Peer Networks) ที่มีคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง (Nodes) มาช่วยกันยืนยันข้อมูล
ประโยชน์ของ Decentralization บนเครือข่าย P2P คือ
- ไม่มีใครคนเดียวที่ “มีอำนาจใหญ่” หรือ “ควบคุม” ทุกอย่างได้
- ระบบเลยแข็งแกร่ง ไม่พังง่าย
- ลดโอกาสจะโดนใครคนใดคนหนึ่งดักแปลงข้อมูลตามใจชอบ
3. การเข้ารหัสและความปลอดภัย (Encryption and Security)
พูดถึงความปลอดภัยของข้อมูล บล็อกเชนก็ต้องพึ่งพา “คริปโตกราฟี” (Cryptography) ด้วยนะ ซึ่งเป็นศาสตร์การเข้ารหัสให้ข้อมูลมีความปลอดภัย
- Hashing: เอาข้อมูลไปใส่สูตร (Hash Function) แล้วได้ข้อความประหลาดๆ ออกมาใช้เป็นรหัสรับรองของข้อมูลนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนข้อมูลเพียงนิดเดียว จะเกิดรหัสรับรองเลขใหม่ เป็นเทคนิคการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าถูกต้องจริงไหม จับโกหกได้ง่ายเวอร์
- Encryption: เป็นการเข้ารหัสข้อมูลไว้ เพื่อปิดบังเนื้อหาข้อมูล ใครไม่มีคีย์ถอดรหัส (Key) ก็ไม่สามารถถอดข้อความได้ จะเห็นเพียงข้อความที่อ่านไม่ออก
พอมีสองสิ่งนี้มาช่วย ถ้าใครบังอาจจะแฮกหรือแก้ข้อมูลในบล็อก ระบบทั้งเครือข่ายก็จะรู้หมด เพราะมันขัดกับ Hash ที่เคยบันทึกไว้นั่นเอง
4. กลไกการทำงานร่วมกัน (Consensus Mechanisms)
ปกติเวลาจะตัดสินว่าธุรกรรมไหนถูกต้อง เราต้องมี “ส่วนกลาง” มาชี้ขาด แต่ในบล็อกเชน เขาให้ทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องตกลงกันเอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่ากลไกฉันทามติ หรือ Consensus Mechanism เช่น
- Proof of Work (PoW): คอมฯ แต่ละเครื่องแข่งแก้โจทย์เลขสุดซับซ้อน ใครแก้ได้ก่อน จะได้สิทธิ์เพิ่มบล็อกใหม่ และรับรางวัลไป หรือที่เราเรียกว่า “ขุดบิทคอยน์” (Bitcoin mining)
- Proof of Stake (PoS): ไม่ต้องแก้โจทย์ แต่ใครมีเหรียญคริปโตมากกว่าก็มีโอกาสถูกเลือกให้ยืนยันธุรกรรมได้มากกว่า
ไม่ว่าจะวิธีไหน จุดประสงค์คือขจัดคนควบคุมกลาง (Central Authority) ออกไป แล้วให้เครือข่ายยอมรับร่วมกันเอง
5. เอาไปใช้งานจริงได้ยังไงบ้าง (Real-World Applications)
ใครนึกถึงบล็อกเชนแล้วเห็นแต่บิทคอยน์ ต้องบอกว่าตอนนี้ หลายเทคโนโลยีใช้งานมันไปได้ไกลกว่านั้นเยอะแล้ว
- ติดตามสินค้าตั้งแต่โรงงานถึงชั้นวางของ (Supply Chain Tracking): รู้หมดว่าสินค้ามาจากไหน ผลิตยังไง ส่งมาขายเมื่อไหร่
- การจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์: จัดเก็บข้อมูลการรักษาอย่างปลอดภัยและโปร่งใส แถมคนไข้ก็มีสิทธิ์คุมข้อมูลตัวเอง
- บัตรประชาชนหรือใบรับรองแบบดิจิทัล: ใครจะปลอมวุฒิหรือสูติบัตรล่ะ โป๊ะแตกไวแน่นอน และสะดวกในหารเรียกดูข้อมูล ป้องกันการสูญหาย
- DeFi (Decentralized Finance): การเงินแบบไม่ง้อธนาคาร ทำให้เกิดสินเชื่อหรือการออมเงินและแลกเปลี่ยนแบบ P2P ได้
6. ทำไมเราถึงควรสนใจ (Why You Should Care)
บางครั้งพวกเราอาจยังไม่ได้ใช้บล็อกเชนในชีวิตประจำวัน แต่เรียนรู้ไว้ก่อนย่อมดีครับ ยกตัวอย่างเช่น
- โอกาสใหม่ๆ ในอนาคต: ตลาดแรงงานที่เกี่ยวกับบล็อกเชนโตเร็วมาก คนเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์, หรือ Project Manager ก็มีโอกาสทั้งนั้น
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: อุตสาหกรรมเก่าๆ อย่างแบงก์หรืออสังหา ก็อาจถูกปฏิวัติให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ความเร็ว แล้วป้องกันการโกงขึ้น (Reducing fraud)
- เรียนรู้เรื่องความปลอดภัย: เข้าใจการเข้ารหัสต่างๆ ได้ ก็เอาไปใช้กับการปกป้องข้อมูลส่วนตัวหรือประยุกต์ใช้กับอย่างอื่นๆ ได้
- ฝึกคิด: ได้รู้จักและเข้าใจระบบกระจายศูนย์กับระบบรวมศูนย์ (Decentralized model versus a Centralized model) แล้วตั้งคำถามว่า “อินเทอร์เน็ต” และ “การเป็นเจ้าของข้อมูล” ในอนาคตควรเป็นแบบไหนกันแน่
7. อุปสรรคและข้อจำกัด (Challenges and Limitations) ของ Blockchain
แน่นอนครับ เทคโนโลยีไหนก็มีข้อดีข้อเสีย บล็อกเชนก็เช่นกัน
- ใช้พลังงานสูง: อย่างการใช้ Proof of Work นั้นสิ้นเปลืองไฟเยอะสุดๆ ขุดเหรียญกันจนสูญเสียพลังงานไฟฟ้าจะเกิดปัญหาในหลายพื้นที่ในต่างประเทศ
- ขยายขนาดยาก (Scalability issue): เมื่อข้อมูลที่เก็บมีเยอะขึ้น โหนดทุกเครื่องต้องเก็บครบทุกข้อมูล หรือถ้าผู้ใช้งานในขณะนั้นมากขึ้นจนเกิดการแออัด ส่งผลให้ธุรกรรมช้าหรือค่าธรรมเนียมแพง
- กฎระเบียบยังไม่ชัดเจน (Legal issues): แต่ละประเทศมีการจัดการคริปโตต่างกัน บางที่ก็เปิดกว้าง บางที่เข้มงวดสุดๆ
แต่วงการ (The community) นี้ก็ไม่ได้อยู่เฉยนะครับ พยายามหาทางพัฒนาเพื่อลดการใช้พลังงาน หรือปรับปรุงด้านเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้งานได้ดีขึ้น
8. อยากรู้มากกว่านี้ ทำไงดี? (Resources to Dive Deeper)
ใครเริ่มคันมือ อยากศึกษาต่อแนะนำเลย มีหลายช่องทางให้ต่อยอดความรู้เพิ่มความเข้าใจ
- YouTube มีสอนเพียบ ตั้งแต่ระดับมือใหม่ยันกูรู
- คอร์สออนไล์ Coursera blockchain, edX blockchain, หรือ Udemy blockchain มีคอร์สสอนพื้นฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ชุมชนนักเขียนโค้ด GitHub มีโปรเจกต์เกี่ยวกับบล็อกเชนให้ลองเล่น ถ้าอยากเจาะลึกเรื่อง Smart Contract ลองภาษาที่ชื่อ Solidity
- ชุมชน Reddit (r/CryptoTechnology) หรือเว็บบอร์ดเฉพาะทางต่างๆ จะมีเพื่อนคอเดียวกันคอยช่วยตอบคำถาม
สรุปภาพรวมของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
สรุปแล้ว “blockchain คืออะไรและสำคัญอย่างไร” น่ะเหรอ เป็นเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนการจัดเก็บและแชร์ข้อมูลแบบพลิกฝ่ามือ แถมยังทำให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงกับข้อมูลของตัวเองมากขึ้น ถึงแม้วันนี้จะมีอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น เรื่องพลังงาน กฎข้อบังคับ หรือการขยายระบบ แต่มีกลุ่มคนที่ก็ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด สำหรับน้องๆ มัธยมที่ได้ลองศึกษาเรื่องนี้แล้ว ก็มีลุ้นได้สร้างอะไรใหม่ๆ หรือนำมันไปใช้กับงานในอนาคตแบบเทพๆ กันได้เลย ถ้าพร้อมแล้ว ก็ลุยเลยครับ!
โลกของบล็อกเชนรอให้เราไปปลดล็อกอยู่!